RSS

Monthly Archives: พฤศจิกายน 2011

Dissertation

ABSTRACT

  The Development of a Social Studies Teacher Training Program

On  Learning Management Based on the Learning Reform Approach.
 

Nuttakarn  Ruttanawijit *

Siriwan Sripahon **

                                                                                                                Kanchana Lintaruttanasirikun   ***

Taweesak jindanuruk  ****

             The purposes of this study were to produce and the efficiency of a social studies teacher training program on learning management based on the learning reform approach. The sample consisted of 30 social studies teachers under Secondary School Educational Service Area Office1, Rayong province by simple random sampling application for training.  The research method was one group pretest-posttest design. The instruments were a social studies teacher training program: the pre-post evaluation forms, the attitude form, the curriculum evaluation form, the understanding on learning management test, behavior test, attitude test of social studies teachers and the pre–post test examine for the student in social studies. Statistics used were percentage, standard deviation and t–test.           

             Research found that; the efficiency of social studies teacher training program on learning management based on the learning reform approach and understanding, teaching behavior and attitude of the social studies teachers with the social studies teacher training program, and achievement of student, there significant differences was 0.01. 


Keywords:
    Teacher Training Program,      School-based Training,

                     Learning Management Based on the Learning Reform  Approach.  

 

 

 

 


* Ph.D.Student: School of Educational Studies Sukhothai ThammathiratOpen University,Thailand.

    E-mail address of the first author: nuttakarn.rut@hotmail.com

** Assoc.Prof.Dr.:  School of Educational Studies Sukhothai ThammathiratOpen University,Thailand.

*** Assoc.Prof.Dr.:  School of Educational Studies Sukhothai Thammathirat Open University, Thailand.

**** Assoc.Prof.Dr.:  School of Educational Studies Sukhothai Thammathirat Open University, Thailand..

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน พฤศจิกายน 3, 2011 นิ้ว Uncategorized

 

วิจัยในชั้นเรียน เรื่องพัฒนาพฤติกรรมความรับผิดชอบการเข้าห้องเรียน

                                                               รายงานวิจัยในชั้นเรียน

เรื่อง การพัฒนาพฤติกรรมความรับผิดชอบการเข้าห้องเรียนของนักเรียน

โดยใช้วิธีการสอนแบบร่วมใจและการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4   กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม รายวิชา ส31101         

 นัทกาญจน์ รัตนวิจิตร ผู้วิจัย

…………………………………………………………………………………………………………………………………….

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ

          1. ปรับพฤติกรรมไม่เข้าเรียนของนักเรียนให้มีความรับผิดชอบเพิ่มมากขึ้นในรายวิชา ส31101

          2. ให้นักเรียนมีผลการเรียนในรายวิชา ส31101  ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้

          3. พัฒนาการเรียนการสอนในภาพรวม

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็น นักเรียนชั้น ม.4/3  จำนวน 38 คน ที่กำลังเรียนรายวิชา ส 31101 เครื่องมือในการวิจัยได้แก่  

1.แผนการเรียนการสอนแบบร่วมแรงร่วมใจ

2. การเรียนรู้อย่างเป็นระบบ

3. แบบสังเกตพฤติกรรมความรับผิดชอบของนักเรียน ได้แก่ ความรับผิดชอบตรงต่อเวลา

การให้ความร่วมมือกับผู้อื่น การปฏิบัติตามกฎระเบียบ การทำงานที่ได้รับ มอบหมายจากครูผู้สอนและการทำงานที่ได้รับ

มอบหมายจากกลุ่ม

 4. แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ การหาค่าเฉลี่ย

ผลลการวิจัยในครั้งนี้พบว่า

          นักเรียน มีความรับผิดชอบในการเรียน

          ทำงานที่ได้รับมอบหมายได้สำเร็จในทุกด้านดีขึ้นตามลำดับและในสัปดาห์ที่10

          นักเรียนทุกคนมีความรับผิดชอบดีทุกด้าน

          ผลการปรับพฤติกรรมในครั้งนี้ทำให้นักเรียนทุกคนสามารถทำแบบทดลองหลังหน่วยการเรียนทุกหน่วยผ่านเกณฑ์ที่กำหนดคือจาก 10 คะแนน นักเรียนสามารถทำได้ 8 คะแนนขึ้นไปถือว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น

 

1 ปัญหาและขอบเขตของปัญหา (What is the problem ?)

 ความเป็นมาของการวิจัย

          ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554  โรงเรียนเพรักษมาตาวิทยา ผู้วิจัยได้รับผิดชอบสอนในรายวิชาพื้นฐาน สังคมศึกษา รหัส ส31101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง จำนวน 3 ห้อง จากการเรียนการสอนใน 4 สัปดาห์แรก 4 หน่วยการเรียน       ผู้วิจัยสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3  จำนวน 38 คน ในขณะที่ผู้วิจัยสอนบรรยายและสาธิตการสอนตามเนื้อหาในเอกสารประกอบการเรียนการสอนอยู่นั้น นักเรียนมีอาการง่วงนอน  มีสมาธิสั้น เมื่อ   มีการถามเนื้อหาที่สอนผ่านไปเมื่อต้นชั่วโมง  นักเรียนไม่สามารถตอบได้  และเมื่อให้ทำแบบทดสอบท้ายหน่วยก็ทำไม่ถูกต้องและบางส่วน ก็ไม่ส่งงานที่ได้มอบหมาย  โดยหลังจากการเรียน นักเรียนจะเข้าห้องเรียนช้าเกินกว่า 10 -15 นาที  และมี       นักเรียนที่ไม่เข้าห้องเรียน เมื่อทำการประเมินหลังหน่วยการเรียนรู้ก็ไม่ผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้

 2. รูปแบบและเทคนิค วิธีการแก้ปัญหาหรือพัฒนา  (What is the action ?)

           จากพฤติกรรมการเรียนดังกล่าวผู้วิจัยได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นและความสำคัญในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ ในฐานะที่เป็นครูผู้สอน จึงได้ทำการสังเกต สัมภาษณ์ และสอบถามนักเรียนเป็นรายบุคคล เพื่อหาสาเหตุของการไม่เข้าเรียนของนักเรียน และนำเอาสาเหตุ มาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหาในครั้งนี้  ผู้วิจัยพบว่าควรปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอน โดยการสอนแบบร่วมแรงร่วมใจ และการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ

 วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการวิจัย

          1. เพื่อปรับพฤติกรรมไม่เข้าเรียนของนักเรียนและให้นักเรียนมีความรับผิดชอบต่อการเรียนการสอนร่วมกัน

          2. เพื่อให้นักเรียนมีผลการเรียนในรายวิชา ส31101 ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้

          3. เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนในภาพรวม

 วิธีการดำเนินการวิจัย

          กลุ่มเป้าหมาย  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3  จำนวน 38 คน

เครื่องมือในการวิจัย

          1. แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมแรงร่วมใจ และการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ

          2. แบบสังเกตพฤติกรรมความรับผิดชอบของนักเรียน ได้แก่ ความรับผิดขอบตรงต่อเวลาให้

ความร่วมมือกับผู้อื่น ปฏิบัติตามกฎระเบียบ การทำงานที่ได้รับ มอบหมายจากครูผู้สอนและการทำงานที่ได้รับมอบหมายจากกลุ่ม

          3. แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ระยะเวลาดำเนินการสัปดาห์ที่ 5 ถึง สัปดาห์ที่ 10 ของภาคเรียนที่ 1/2554 รวม 5 สัปดาห์

 3. การนำรูปแบบเทคนิควิธีการแก้ปัญหาหรือพัฒนาไปใช้ในการแก้ปัญหา และผลที่เกิดขึ้น

(What is the result ?)

         การรวบรวมข้อมูล

          หลังจากผู้วิจัยสามารถวิเคราะห์ถึงสาเหตุของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 ที่ไม่เข้าห้องเรียนช้า และไม่ตั้งใจเรียนในชั้นเรียนได้แล้ว  ผู้วิจัยได้เลือกวิธีการที่ให้นักเรียนร่วมมือกันทำงานและร่วมกันสอนกับครู  โดยใช้การเรียนการสอนแบบร่วมแรงร่วมใจและการเรียนอย่างเป็นระบบ โดยดำเนินการดังนี้

          1. ผู้วิจัยทำการศึกษาวิธีการเรียนรู้แบบร่วมแรงร่วมใจให้เข้าใจ

          2. อธิบายวิธีการเรียนรู้แบบร่วมแรงร่วมใจให้นักเรียนทั้งหมดได้รับรู้และทำความเข้าใจ

          3. ดำเนินการเรียนการสอนแบบร่วมแรงร่วมใจและเรียนรู้อย่างเป็นระบบ

                   3.1  แบ่งกลุ่มผู้เรียนตามความสมัครใจ เป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 5-6 คน แต่มีข้อแม้ว่า คนที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงกับต่ำ ในอัตราส่วนที่เหมาะสม และจะต้องเป็นที่ยอมรับของกลุ่ม

                   3.2  ผู้สอนเตรียมหัวข้อที่ให้นักเรียนร่วมกันทำเป็นกลุ่ม นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทน

เลือกหัวข้อที่จะทำการศึกษา ปฏิบัติและทำรายงาน

                    3.3  ผู้สอนอธิบายงานของแต่ละหัวข้อว่าจะต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง อธิบายถึงการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ ทำงานตามขั้นตอนทีละขั้นตอน และผลของการมีส่วนร่วมในงานที่ได้รับมอบหมายจะได้สำเร็จไปด้วยดี

                    3.4 ผู้สอนบอกถึงผลที่จะได้รับจากการทำงานร่วมกันว่าทุกกิจกรรม ทุกขั้นตอนนั้นเป็นคะแนนส่วนหนึ่งที่จะนำมาประเมินผลการเรียน

                    3.5 ผู้สอนทำการตกลงกับนักเรียนว่า ก่อนมีการเรียนการสอนทุกครั้ง กลุ่มใดที่ทำงานในหัวข้อที่จะทำการเรียนการสอน นักเรียนทุกคนในกลุ่มจะต้องออกมานำเสนอผลงานในเรื่องนั้น ๆโดยใช้โปรแกรม powerpoint  เป็นการนำเข้าสู่บทเรียน และผู้สอนจะทำการสรุปอีกครั้งและเสริมส่วนที่ไม่สมบูรณ์ เพื่อนักเรียนได้เข้าใจในเนื้อหายิ่งขึ้น

                    3.6 สร้างแบบสังเกตพฤติกรรมความรับผิดชอบของนักเรียนในแต่ละกลุ่ม

                    3.7 ติดตามสังเกตพฤติกรรมหลังปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอน

          4. ดำเนินการแก้ไขเป็นรายบุคคลและเป็นรายกลุ่มที่ไม่ผ่านเกณฑ์จากการสังเกตพฤติกรรมในแต่ละด้าน

                    4.1 ตรวจสอบประเมินเวลาเรียนและให้คะแนนการเข้าเรียน

                    4.2 ตรวจสอบประเมินงานทุกงานที่มอบหมายให้นักเรียนทำเป็นรายบุคคลและรายกลุ่มเป็น       คะแนน

                    4.3 ประเมินการแต่งกายของนักเรียนทุกครั้งที่มีการเรียนการสอน เหตุเพราะนักเรียนจะต้องมี    คุณลักษณะบุคลิกที่ดีเป็นพื้นฐาน ก่อนออกมานำเสนอผลงาน

                    4.4 เกณฑ์การประเมิน  ระดับ 4 ดีมาก ระดับ 3 ดี ระดับ 2 ปานกลาง ระดับ 1 พอใช้ ระดับ 0 ต้องปรับปรุง

          5. วิเคราะห์ข้อมูลในภาพรวมและแยกตามรายบุคคลโดยใช้แบบถามตอบ

          6. สรุปผลการแก้ปัญหา

         การวิเคราะห์ข้อมูล

          การวัดผลและประเมินผลกิจกรรม/พฤติกรรม/ผลงานด้วยแบบสังเกตพฤติกรรมความรับผิด

ชอบของนักศึกษาเกณฑ์การให้คะแนน (แบบสังเกตพฤติกรรมความรับผิดชอบ) ความรับผิดชอบ การตรงต่อเวลา ให้ความร่วมมือกับผู้อื่น ปฏิบัติตามกฎระเบียบ การทำงานที่ไดัรับมอบหมายจากครูสอนและการทำงานที่ได้รับมอบหมาย

 

สรุปผลการวิจัย

          ภายหลังจากการปรับพฤติกรรมความรับผิดชอบในการเรียนรายวิชา ส31101 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3  จำนวน 38 คนโดยการสอนแบบร่วมแรงร่วมใจและการเรียนรู้อย่างมีระบบ พบว่า นักเรียนมีความรับผิดชอบในการเรียนและทำงานที่ได้รับมอบหมายได้สำเร็จ ในทุกด้านดีขึ้นตามลำดับและในสัปดาห์ที่ 10 พบว่านักเรียนทุกคนมีความรับผิดชอบดีทุกด้าน มีบุคลิกภาพดีขึ้น ผลการปรับพฤติกรรมในครั้งนี้ทำให้นักเรียนทุกคนสามารถทำแบบทดสอบหลังหน่วยการเรียนทุกหน่วยผ่านเกณฑ์ที่กำหนด สรุปนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น 

 4. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการแก้ปัญหาและการพัฒนาในอนาคต (What is the next step ?)

          ข้อเสนอแนะ

          1. ควรมีการติดตามพฤติกรรมความรับผิดชอบในการเรียนของนักเรียนอย่างต่อเนื่องเพื่อสังเกตว่ามีผลต่อพฤติกรรมความรับผิดชอบของนักเรียนอย่างถาวรจนสิ้นสุดรายวิชา

          2.  เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาต่อในรายวิชาอื่นๆต่อไป

         ขอรับรองว่าข้อมูลดังกล่าวถูกต้องและปฏิบัติจริงทุกประการ

                                                ลงชื่อ  นัทกาญจน์  รัตนวิจิตร ผู้วิจัย

                                               ครูเชี่ยวชาญ โรงเรียนเพรักษมาตาวิทยา

                                                  วันที่ 31 ตุลาคม  พ.ศ.2554

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน พฤศจิกายน 3, 2011 นิ้ว Uncategorized