RSS

Dissertation

ABSTRACT

  The Development of a Social Studies Teacher Training Program

On  Learning Management Based on the Learning Reform Approach.
 

Nuttakarn  Ruttanawijit *

Siriwan Sripahon **

                                                                                                                Kanchana Lintaruttanasirikun   ***

Taweesak jindanuruk  ****

             The purposes of this study were to produce and the efficiency of a social studies teacher training program on learning management based on the learning reform approach. The sample consisted of 30 social studies teachers under Secondary School Educational Service Area Office1, Rayong province by simple random sampling application for training.  The research method was one group pretest-posttest design. The instruments were a social studies teacher training program: the pre-post evaluation forms, the attitude form, the curriculum evaluation form, the understanding on learning management test, behavior test, attitude test of social studies teachers and the pre–post test examine for the student in social studies. Statistics used were percentage, standard deviation and t–test.           

             Research found that; the efficiency of social studies teacher training program on learning management based on the learning reform approach and understanding, teaching behavior and attitude of the social studies teachers with the social studies teacher training program, and achievement of student, there significant differences was 0.01. 


Keywords:
    Teacher Training Program,      School-based Training,

                     Learning Management Based on the Learning Reform  Approach.  

 

 

 

 


* Ph.D.Student: School of Educational Studies Sukhothai ThammathiratOpen University,Thailand.

    E-mail address of the first author: nuttakarn.rut@hotmail.com

** Assoc.Prof.Dr.:  School of Educational Studies Sukhothai ThammathiratOpen University,Thailand.

*** Assoc.Prof.Dr.:  School of Educational Studies Sukhothai Thammathirat Open University, Thailand.

**** Assoc.Prof.Dr.:  School of Educational Studies Sukhothai Thammathirat Open University, Thailand..

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน พฤศจิกายน 3, 2011 นิ้ว Uncategorized

 

วิจัยในชั้นเรียน เรื่องพัฒนาพฤติกรรมความรับผิดชอบการเข้าห้องเรียน

                                                               รายงานวิจัยในชั้นเรียน

เรื่อง การพัฒนาพฤติกรรมความรับผิดชอบการเข้าห้องเรียนของนักเรียน

โดยใช้วิธีการสอนแบบร่วมใจและการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4   กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม รายวิชา ส31101         

 นัทกาญจน์ รัตนวิจิตร ผู้วิจัย

…………………………………………………………………………………………………………………………………….

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ

          1. ปรับพฤติกรรมไม่เข้าเรียนของนักเรียนให้มีความรับผิดชอบเพิ่มมากขึ้นในรายวิชา ส31101

          2. ให้นักเรียนมีผลการเรียนในรายวิชา ส31101  ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้

          3. พัฒนาการเรียนการสอนในภาพรวม

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็น นักเรียนชั้น ม.4/3  จำนวน 38 คน ที่กำลังเรียนรายวิชา ส 31101 เครื่องมือในการวิจัยได้แก่  

1.แผนการเรียนการสอนแบบร่วมแรงร่วมใจ

2. การเรียนรู้อย่างเป็นระบบ

3. แบบสังเกตพฤติกรรมความรับผิดชอบของนักเรียน ได้แก่ ความรับผิดชอบตรงต่อเวลา

การให้ความร่วมมือกับผู้อื่น การปฏิบัติตามกฎระเบียบ การทำงานที่ได้รับ มอบหมายจากครูผู้สอนและการทำงานที่ได้รับ

มอบหมายจากกลุ่ม

 4. แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ การหาค่าเฉลี่ย

ผลลการวิจัยในครั้งนี้พบว่า

          นักเรียน มีความรับผิดชอบในการเรียน

          ทำงานที่ได้รับมอบหมายได้สำเร็จในทุกด้านดีขึ้นตามลำดับและในสัปดาห์ที่10

          นักเรียนทุกคนมีความรับผิดชอบดีทุกด้าน

          ผลการปรับพฤติกรรมในครั้งนี้ทำให้นักเรียนทุกคนสามารถทำแบบทดลองหลังหน่วยการเรียนทุกหน่วยผ่านเกณฑ์ที่กำหนดคือจาก 10 คะแนน นักเรียนสามารถทำได้ 8 คะแนนขึ้นไปถือว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น

 

1 ปัญหาและขอบเขตของปัญหา (What is the problem ?)

 ความเป็นมาของการวิจัย

          ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554  โรงเรียนเพรักษมาตาวิทยา ผู้วิจัยได้รับผิดชอบสอนในรายวิชาพื้นฐาน สังคมศึกษา รหัส ส31101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง จำนวน 3 ห้อง จากการเรียนการสอนใน 4 สัปดาห์แรก 4 หน่วยการเรียน       ผู้วิจัยสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3  จำนวน 38 คน ในขณะที่ผู้วิจัยสอนบรรยายและสาธิตการสอนตามเนื้อหาในเอกสารประกอบการเรียนการสอนอยู่นั้น นักเรียนมีอาการง่วงนอน  มีสมาธิสั้น เมื่อ   มีการถามเนื้อหาที่สอนผ่านไปเมื่อต้นชั่วโมง  นักเรียนไม่สามารถตอบได้  และเมื่อให้ทำแบบทดสอบท้ายหน่วยก็ทำไม่ถูกต้องและบางส่วน ก็ไม่ส่งงานที่ได้มอบหมาย  โดยหลังจากการเรียน นักเรียนจะเข้าห้องเรียนช้าเกินกว่า 10 -15 นาที  และมี       นักเรียนที่ไม่เข้าห้องเรียน เมื่อทำการประเมินหลังหน่วยการเรียนรู้ก็ไม่ผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้

 2. รูปแบบและเทคนิค วิธีการแก้ปัญหาหรือพัฒนา  (What is the action ?)

           จากพฤติกรรมการเรียนดังกล่าวผู้วิจัยได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นและความสำคัญในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ ในฐานะที่เป็นครูผู้สอน จึงได้ทำการสังเกต สัมภาษณ์ และสอบถามนักเรียนเป็นรายบุคคล เพื่อหาสาเหตุของการไม่เข้าเรียนของนักเรียน และนำเอาสาเหตุ มาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหาในครั้งนี้  ผู้วิจัยพบว่าควรปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอน โดยการสอนแบบร่วมแรงร่วมใจ และการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ

 วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการวิจัย

          1. เพื่อปรับพฤติกรรมไม่เข้าเรียนของนักเรียนและให้นักเรียนมีความรับผิดชอบต่อการเรียนการสอนร่วมกัน

          2. เพื่อให้นักเรียนมีผลการเรียนในรายวิชา ส31101 ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้

          3. เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนในภาพรวม

 วิธีการดำเนินการวิจัย

          กลุ่มเป้าหมาย  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3  จำนวน 38 คน

เครื่องมือในการวิจัย

          1. แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมแรงร่วมใจ และการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ

          2. แบบสังเกตพฤติกรรมความรับผิดชอบของนักเรียน ได้แก่ ความรับผิดขอบตรงต่อเวลาให้

ความร่วมมือกับผู้อื่น ปฏิบัติตามกฎระเบียบ การทำงานที่ได้รับ มอบหมายจากครูผู้สอนและการทำงานที่ได้รับมอบหมายจากกลุ่ม

          3. แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ระยะเวลาดำเนินการสัปดาห์ที่ 5 ถึง สัปดาห์ที่ 10 ของภาคเรียนที่ 1/2554 รวม 5 สัปดาห์

 3. การนำรูปแบบเทคนิควิธีการแก้ปัญหาหรือพัฒนาไปใช้ในการแก้ปัญหา และผลที่เกิดขึ้น

(What is the result ?)

         การรวบรวมข้อมูล

          หลังจากผู้วิจัยสามารถวิเคราะห์ถึงสาเหตุของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 ที่ไม่เข้าห้องเรียนช้า และไม่ตั้งใจเรียนในชั้นเรียนได้แล้ว  ผู้วิจัยได้เลือกวิธีการที่ให้นักเรียนร่วมมือกันทำงานและร่วมกันสอนกับครู  โดยใช้การเรียนการสอนแบบร่วมแรงร่วมใจและการเรียนอย่างเป็นระบบ โดยดำเนินการดังนี้

          1. ผู้วิจัยทำการศึกษาวิธีการเรียนรู้แบบร่วมแรงร่วมใจให้เข้าใจ

          2. อธิบายวิธีการเรียนรู้แบบร่วมแรงร่วมใจให้นักเรียนทั้งหมดได้รับรู้และทำความเข้าใจ

          3. ดำเนินการเรียนการสอนแบบร่วมแรงร่วมใจและเรียนรู้อย่างเป็นระบบ

                   3.1  แบ่งกลุ่มผู้เรียนตามความสมัครใจ เป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 5-6 คน แต่มีข้อแม้ว่า คนที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงกับต่ำ ในอัตราส่วนที่เหมาะสม และจะต้องเป็นที่ยอมรับของกลุ่ม

                   3.2  ผู้สอนเตรียมหัวข้อที่ให้นักเรียนร่วมกันทำเป็นกลุ่ม นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทน

เลือกหัวข้อที่จะทำการศึกษา ปฏิบัติและทำรายงาน

                    3.3  ผู้สอนอธิบายงานของแต่ละหัวข้อว่าจะต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง อธิบายถึงการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ ทำงานตามขั้นตอนทีละขั้นตอน และผลของการมีส่วนร่วมในงานที่ได้รับมอบหมายจะได้สำเร็จไปด้วยดี

                    3.4 ผู้สอนบอกถึงผลที่จะได้รับจากการทำงานร่วมกันว่าทุกกิจกรรม ทุกขั้นตอนนั้นเป็นคะแนนส่วนหนึ่งที่จะนำมาประเมินผลการเรียน

                    3.5 ผู้สอนทำการตกลงกับนักเรียนว่า ก่อนมีการเรียนการสอนทุกครั้ง กลุ่มใดที่ทำงานในหัวข้อที่จะทำการเรียนการสอน นักเรียนทุกคนในกลุ่มจะต้องออกมานำเสนอผลงานในเรื่องนั้น ๆโดยใช้โปรแกรม powerpoint  เป็นการนำเข้าสู่บทเรียน และผู้สอนจะทำการสรุปอีกครั้งและเสริมส่วนที่ไม่สมบูรณ์ เพื่อนักเรียนได้เข้าใจในเนื้อหายิ่งขึ้น

                    3.6 สร้างแบบสังเกตพฤติกรรมความรับผิดชอบของนักเรียนในแต่ละกลุ่ม

                    3.7 ติดตามสังเกตพฤติกรรมหลังปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอน

          4. ดำเนินการแก้ไขเป็นรายบุคคลและเป็นรายกลุ่มที่ไม่ผ่านเกณฑ์จากการสังเกตพฤติกรรมในแต่ละด้าน

                    4.1 ตรวจสอบประเมินเวลาเรียนและให้คะแนนการเข้าเรียน

                    4.2 ตรวจสอบประเมินงานทุกงานที่มอบหมายให้นักเรียนทำเป็นรายบุคคลและรายกลุ่มเป็น       คะแนน

                    4.3 ประเมินการแต่งกายของนักเรียนทุกครั้งที่มีการเรียนการสอน เหตุเพราะนักเรียนจะต้องมี    คุณลักษณะบุคลิกที่ดีเป็นพื้นฐาน ก่อนออกมานำเสนอผลงาน

                    4.4 เกณฑ์การประเมิน  ระดับ 4 ดีมาก ระดับ 3 ดี ระดับ 2 ปานกลาง ระดับ 1 พอใช้ ระดับ 0 ต้องปรับปรุง

          5. วิเคราะห์ข้อมูลในภาพรวมและแยกตามรายบุคคลโดยใช้แบบถามตอบ

          6. สรุปผลการแก้ปัญหา

         การวิเคราะห์ข้อมูล

          การวัดผลและประเมินผลกิจกรรม/พฤติกรรม/ผลงานด้วยแบบสังเกตพฤติกรรมความรับผิด

ชอบของนักศึกษาเกณฑ์การให้คะแนน (แบบสังเกตพฤติกรรมความรับผิดชอบ) ความรับผิดชอบ การตรงต่อเวลา ให้ความร่วมมือกับผู้อื่น ปฏิบัติตามกฎระเบียบ การทำงานที่ไดัรับมอบหมายจากครูสอนและการทำงานที่ได้รับมอบหมาย

 

สรุปผลการวิจัย

          ภายหลังจากการปรับพฤติกรรมความรับผิดชอบในการเรียนรายวิชา ส31101 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3  จำนวน 38 คนโดยการสอนแบบร่วมแรงร่วมใจและการเรียนรู้อย่างมีระบบ พบว่า นักเรียนมีความรับผิดชอบในการเรียนและทำงานที่ได้รับมอบหมายได้สำเร็จ ในทุกด้านดีขึ้นตามลำดับและในสัปดาห์ที่ 10 พบว่านักเรียนทุกคนมีความรับผิดชอบดีทุกด้าน มีบุคลิกภาพดีขึ้น ผลการปรับพฤติกรรมในครั้งนี้ทำให้นักเรียนทุกคนสามารถทำแบบทดสอบหลังหน่วยการเรียนทุกหน่วยผ่านเกณฑ์ที่กำหนด สรุปนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น 

 4. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการแก้ปัญหาและการพัฒนาในอนาคต (What is the next step ?)

          ข้อเสนอแนะ

          1. ควรมีการติดตามพฤติกรรมความรับผิดชอบในการเรียนของนักเรียนอย่างต่อเนื่องเพื่อสังเกตว่ามีผลต่อพฤติกรรมความรับผิดชอบของนักเรียนอย่างถาวรจนสิ้นสุดรายวิชา

          2.  เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาต่อในรายวิชาอื่นๆต่อไป

         ขอรับรองว่าข้อมูลดังกล่าวถูกต้องและปฏิบัติจริงทุกประการ

                                                ลงชื่อ  นัทกาญจน์  รัตนวิจิตร ผู้วิจัย

                                               ครูเชี่ยวชาญ โรงเรียนเพรักษมาตาวิทยา

                                                  วันที่ 31 ตุลาคม  พ.ศ.2554

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน พฤศจิกายน 3, 2011 นิ้ว Uncategorized

 

วิธีสอนทักษะกระบวนการต่างๆ

                 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการเรียนรู้

กระบวนการเรียนรู้ คือ แนวทางดำเนินการเรียนการสอนในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่มี ขั้นตอนเป็นลำดับ ที่ช่วยให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพ ทั้งกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อย รายบุคคลและนำไปสู่ความสำเร็จจามจุดประสงค์โดยใช้ทรัพยากรและเวลาน้อยที่สุด

สงบ  ลักษณะ (2539: 38 – 47) กล่าวถึงการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งได้รวบรวมกระบวนการต่างๆ ไว้         12  กระบวนการ ดังนี้

  1. ทักษะกระบวนการสร้างความคิดรวบยอด
  2. ทักษะกระบวนการปฏิบัติ
  3. ทักษะกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณาญาณ
  4. ทักษะกระบวนการสร้างความตระหนัก
  5. ทักษะกระบวนการสร้างเจตคติ
  6. ทักษะกระบวนการสร้างค่านิยม
  7. ทักษะกระบวนการเรียนความรู้ ความเข้าใจ
  8. ทักษะกระบวนการเรียนภาษา
  9. ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา

10. ทักษะกระบวนการ 9 ขั้น

11.  ทักษะกระบวนการกลุ่ม

12. ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์

นอกจากนั้นยังมีวิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอีกหลายวิธี  เช่น  วิธีการสอนทางประวัติศาสตร์   วิธีการสอนกระบวนการคิดแบบโยนิโสมนสิการ  คิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย คิดแบบคุณค่าแท้ คุณค่าเทียม  คิดแบบอริยสัจ 4   การเรียนรู้แบบโครงงาน  เป็นต้น

 

 

 

 

 

 

 

 

กระบวนการเรียนรู้ต่างๆ มีขั้นตอนไว้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้เพื่อให้เกิด

ประสิทธิภาพแก่ผู้เรียนมากที่สุด ดังนี้

 

  1. ทักษะกระบวนการ สร้างความคิดรวบยอด

 

ขั้นตอน

แนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้

1. การสังเกต ให้ผู้เรียนได้รับรู้ ข้อมูลและศึกษาด้วยวิธีการต่างๆ โดยใช้สื่อประกอบ

เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดข้อกำหนดเฉพาะด้วยตนเอง

2. การจำแนกความแตกต่าง ให้ผู้เรียนบอกข้อแตกต่างของสิ่งที่รับรู้ และให้เหตุผลในความแตกต่างนั้น
3. การหาลักษณะร่วม ผู้เรียนมองเห็นความเหมือนความเหมือนในภาพรวมของสิ่งที่ได้รับรู้และสรุปเป็นวิธีการ หลักการ คำจำกัดความ นิยามได้
4. ระบุชื่อความคิดรวบยอด ผู้เรียนได้ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่รับรู้
5. การทดสอบและนำไปใช้ ผู้เรียนได้ทดลอง ทดสอบ สังเกต ทำแบบฝึกหัด  ปฏิบัติ เพื่อประเมินความรู้

 

  1. ทักษะกระบวนการปฏิบัติ

 

ขั้นตอน

แนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้

1. การสังเกต รับรู้ ผู้เรียนได้เห็นตัวอย่างหลากหลายจนเกิดความเข้าใจและสรุปความ

คิดรวบยอด

2. การทำตามแบบ ทำตามตัวอย่างที่แสดงให้เห็นทีละขั้นตอนจากขั้นพื้นฐานไปถึงงานที่ซับซ้อนขึ้น
3. การทำโดยไม่มีแบบ ฝึกปฏิบัติชนิดครบถ้วนกระบวนการทำงานตั้งแต่ต้นจนจบด้วยตนเอง
4. การฝึกให้เกิดทักษะ

 

ปฏิบัติด้วยตนเองจนเกิดความชำนาญ หรือทำได้โดยอัตโนมัติ อาจจะเป็นงานชิ้นเดิมหรืองานที่คิดขึ้นใหม่

8

 

  1. ทักษะกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

 

ขั้นตอน

แนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้

1. การสังเกต ให้ผู้เรียนเน้นการทำกิจกรรม รับรู้แบบปรนัยให้เข้าใจ ได้ความคิดรวบยอด

เชื่อมโยง ความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ สรุปเป็นใจความสำคัญครบถ้วนตรงตามหลักฐานข้อมูล

2. การอธิบาย ให้ผู้เรียนตอบคำถาม แสดงความคิดเห็น เชิงเห็นด้วย ไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่กำหนด เน้นการใช้เหตุผล หลักการ กฎเกณฑ์ อ้างหลักฐานข้อมูลประกอบให้น่าเชื่อถือ
3. การรับฟัง ให้ผู้เรียนได้ฟังความคิดเห็น ได้ตอบคำถามวิพากษ์ วิจารณ์จากผู้อื่นที่มีความคิดเห็นของตน หรือข้อมูลที่ดีกว่าโดยไม่ใช้อารมณ์ต่อความคิดเห็น
4. การเชื่อมโยงความ

สัมพันธ์

ผู้เรียนได้เปรียบเทียบความแตกต่างและความคล้ายคลึงของสิ่งของต่างๆ ให้สรุปจัดกลุ่มสิ่งที่เป็นพวกเดียวกัน เชื่อมโยงเหตุการณ์ เชิงหาเหตุผล หากฎเกณฑ์การเชื่อมโยงลักษณะอุปมา อุปไมย
5. วิจารณ์ จัดกิจกรรมให้วิเคราะห์เหตุการณ์ คำกล่าว แนวคิด หรือการกระทำแล้วให้จำแนกจุดเด่น จุดด้อย ส่วนดี ส่วนเสีย ส่วนสำคัญ ไม่สำคัญ จากสิ่งนั้นด้วยการยกเหตุผล หลักการมาประกอบการวิจารณ์
6. สรุป จัดกิจกรรมให้พิจารณาส่วน ประกอบของการกระทำหรือข้อมูลต่างๆที่เชื่อมโยงเกี่ยวข้องกันแล้ว ให้สรุปผลอย่างตรงและถูกต้องตามหลักฐานข้อมูล

 

 

 

 

 

 

4.  ทักษะกระบวนการสร้างความตระหนัก

 

ขั้นตอน

แนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้

1. สังเกต

ให้ข้อมูลที่ต้องการ ให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ เอาใจใส่และเห็นคุณค่า

2. วิจารณ์

ให้ตัวอย่าง สถานการณ์ ประสบการณ์ตรงเพื่อให้ผู้เรียนวิเคราะห์ สาเหตุ ผลดี ผลเสีย ที่จะเกิดขึ้นทั้งในระยะสั้น และระยะยาว

3. สรุป

ผู้เรียนอภิปราย หาข้อมูล หรือหลักฐานมาสนับสนุนคุณค่าของสิ่งที่จะต้องตระหนัก และวางเป้าหมายที่จะพัฒนาตนเองในเรื่องนั้น

 

5.  ทักษะกระบวนการสร้างเจตคติ

 

ขั้นตอน

แนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้

1. สังเกต

ผู้เรียนพิจารณาข้อมูล เหตุการณ์ การกระทำที่เกี่ยวข้องกับการมี

เจตคติที่ไม่ดี

2. วิเคราะห์

ผู้เรียนพิจารณาผลที่เกิดขึ้นตามมา แยกเป็นการกระทำที่เหมาะสมได้ผลตามที่น่าพอใจ การกระทำที่ไม่เหมาะสมตามที่ไม่น่าพอใจ

3. สรุป

ผู้เรียนรวบรวมข้อมูลเป็นหลักการ แนวคิด แนวปฏิบัติด้วยเหตุผลของความพอใจ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

6.  ทักษะกระบวนการสร้างค่านิยม

 

ขั้นตอน

แนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้

1. สังเกต ตระหนัก

ผู้เรียนพิจารณาข้อมูล เหตุการณ์ การกระทำที่เกี่ยวข้องกับการมี

เจตคติที่ไม่ดี

2. ประเมินเชิงเหตุผล

ผู้เรียนพิจารณาผลที่เกิดขึ้นตามมา แยกเป็นการกระทำที่เหมาะสมได้ผลตามที่น่าพอใจ การกระทำที่ไม่เหมาะสมตามที่ไม่น่าพอใจ

3. กำหนดค่านิยม

ผู้เรียนรวบรวมข้อมูลเป็นหลักการ แนวคิด แนวปฏิบัติด้วยเหตุผลของความพอใจ

4. วางแผนปฏิบัติ

กลุ่มช่วยกันกำหนดแนวปฏิบัติในสถานการณ์จริง โดนครูมีส่วนร่วมในการรับทราบกติกา  การกระทำ และสำรวจสิ่งที่ผู้เรียนต้องการจะได้รับเมื่อได้กระทำดีแล้ว เช่นการได้ประกาศชื่อให้เป็นที่ยอมรับ

5. ปฏิบัติด้วยความชื่นชม

ครูให้การเสริมแรงตามกติการะหว่างการปฏิบัติให้ผู้เรียนเกิดความชื่นชมยินดี

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

7.  ทักษะกระบวนการเรียน ความรู้ ความเข้าใจ

 

ขั้นตอน

แนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้

1. สังเกต ตระหนัก

ผู้เรียนพิจารณาข้อมูล สาระความรู้ เพื่อสร้างความคิดรวบยอดกระตุ้นให้ตั้งคำถาม ตั้งข้อสังเกต สังเคราะห์ข้อมูล เพื่อทำความเข้าใจในสิ่งที่ต้องการรู้ และกำหนดเป็นวัตถุประสงค์ เป็นแนวทางที่จะแสวงหาคำตอบต่อไป

2. วางแผนปฏิบัติ

ผู้เรียนนำวัตถุประสงค์ หรือคำถามที่ทุกคนสนใจจะหาคำตอบมาวางแผน เพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสม

3. ลงมือปฏิบัติ

ผู้เรียนกำหนดให้สมาชิกในกลุ่มย่อย ได้แสวงหาคำตอบจากแหล่งความรู้ด้วยวิธีต่างๆ เช่น ค้นคว้า สัมภาษณ์ ศึกษานอกสถานที่ หา

ข้อมูลจากองค์กรในชุมชน ตามแผนที่วางไว้

4. พัฒนาความรู้

ความเข้าใจ

นำความรู้ที่ได้มารายงาน และอภิปรายเชิงแปลความหมาย ตีความ ขยายความ นำไปใช้วิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่า

5. สรุป

รวบรวมเป็นสาระที่ควรรู้ บันทึกลงสมุดผู้เรียน

 

8.  ทักษะกระบวนการเรียนภาษา

 

ขั้นตอน

แนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้

1. ทำความเข้าใจสัญลักษณ์

ผู้เรียนรับรู้เกี่ยวกับความหมายของคำ กลุ่มคำประโยค สำนวนต่างๆ

2. สร้างความคิดรวบยอด

ผู้เรียนเกิดการเชื่อมโยงความรู้จากประสบการณ์มาสู่ความเข้าใจและเกิดภาพรวมเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนด้วยตนเอง

3.สื่อความหมาย ความคิด

ผู้เรียนถ่ายทอดทางภาษาให้ผู้อื่นเข้าใจ

4. พัฒนาความสามารถ

ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามขั้นตอน คือความรู้ ความจำ เข้าใจ นำไปใช้วิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่าได้

 

9.  ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา

 

ขั้นตอน

แนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้

1. สังเกต

ผู้เรียนศึกษาข้อมูล รับรู้และทำความเข้าใจในปัญหาจนสามารถสรุป และตระหนักในปัญหานั้น

2. การวิเคราะห์

ผู้เรียนได้อภิปรายหรือแสดงความคิดเห็น เพื่อแยกแยะประเด็นปัญหา สภาพ สาเหตุและลำดับความสำคัญของปัญหา

3. สร้างทางเลือก

ผู้เรียนแสวงหาทางเลือกในการแก้ปัญหาอย่างหลากหลาย ซึ่งอาจมีการทดลอง ค้นคว้า ตรวจสอบเพื่อเป็นข้อมูลประกอบกรณี ที่ให้

ผู้เรียนทำกิจกรรมกลุ่ม ควรมีการกำหนดหน้าที่ในการทำงาน

4. เก็บข้อมูลประเมินทางเลือก

ผู้เรียนได้ปฏิบัติตามแผนและบันทึกการปฏิบัติงานเพื่อรายงานและ

ตรวจสอบความถูกต้องของทางเลือก

5. สรุป

ผู้เรียนสังเคราะห์ความรู้ด้วยตนเอง อาจจัดทำเป็นรูปของการ

รายงาน

 

10.  ทักษะกระบวนการ 9 ขั้น

 

ขั้นตอน

แนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้

1. ตระหนักในปัญหาและความจำเป็น ครูยกสถานการณ์ตัวอย่างให้ผู้เรียนเข้าใจและตระหนักในปัญหาและความจำเป็นในเรื่องที่ศึกษาหรือเห็นประโยชน์ ความสำคัญของการศึกษาเรื่องนั้น โดยครูอาจนำเสนอเป็นกรณีตัวอย่าง หรือสถานการณ์ที่สะท้อนให้เห็นปัญหาความขัดแย้งของเรื่องที่ศึกษา โดยใช้สื่อประกอบ เช่น รูปภาพวีดีทัศน์  สถานการณ์จริง กรณีตัวอย่าง สไลด์ ฯลฯ
2. คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ กระตุ้นผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ ตอบคำถาม แบบฝึกหัด ข้อมูลและให้โอกาสผู้เรียนแสดงความคิดเห็นเป็นกลุ่มหรือรายบุคคล

 

 

 

10.  ทักษะกระบวนการ 9 ขั้น (ต่อ)

 

ขั้นตอน

แนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้

3. สร้างทางเลือก ผู้เรียนแสวงหาทางเลือกในการแก้ปัญหาอย่างหลากหลาย โดยร่วมกันคิดเสนอทางเลือกและอภิปรายข้อดี ข้อเสียของทางเลือกนั้นๆ
4. ประเมินและเลือกทา ผู้เรียนตัดสินทางเลือกแนวทางในการแก้ปัญหา โดยร่วมกันสร้างเกณฑ์ที่ต้องคำนึงถึงปัจจัย วิธีดำเนินการ ผลผลิต ข้อจำกัด ความเหมาะสม กาลเทศะเพื่อใช้ในการพิจารณา ตัดสินเลือกแนวทางการแก้ปัญหา ซึ่งอาจใช้วิธีระดมพลังสมอง อภิปราย ศึกษา ค้นคว้า

5. กำหนดและลำดับ

ขั้นตอนการปฏิบัติ

ผู้เรียนวางแผนการทำงานของตนเอง หรือกลุ่มอาจใช้ลำดับขั้นตอน

การดำเนินงาน ดังนี้

ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน

กำหนดวัตถุประสงค์

กำหนดขั้นตอนการทำงาน

กำหนดผู้รับผิดชอบ(กรณีทำงานกลุ่ม)

กำหนดระยะเวลาการทำงาน

กำหนดวิธีการประเมินผล

6. ปฏิบัติด้วยความชื่นชม

ผู้เรียนได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ด้วยความสมัครใจ ตั้งใจ

มีความกระตือรือร้น และเพลิดเพลินกับการทำงาน

7. ประเมินระหว่างปฏิบัติ

ผู้เรียนได้สำรวจปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงานโดยการซักถาม

อภิปรายและเปลี่ยนความคิดเห็น มีการประเมินผลการปฏิบัติงาน

ตามขั้นตอนและตามแผนที่กำหนดไว้ โดยสรุปผลการทำงานแต่ละช่วง แล้วเสนอแนวทางการปรับปรุง การทำงานขั้นต่อไป

8. ปรับปรุงให้ดีขึ้นเสมอ

ผู้เรียนนำผลที่ได้จากการประเมินในแต่ละขั้นตอน มาเป็นแนวทางในการพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

 

 

10.  ทักษะกระบวนการ 9 ขั้น (ต่อ)

 

ขั้นตอน

แนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้

9. ประเมินผลรวมเพื่อให้

เกิดความภูมิใจ

ผู้เรียนสรุปผลการดำเนินงาน โดยการเปรียบเทียบผลงานกับวัตถุประสงค์ ที่กำหนดไว้และผลพลอยได้อื่นๆซึ่งอาจเผยแพร่ขยาย

ผลงานแก่ผู้อื่น ได้รับรู้ด้วยความเต็มใจและภาคภูมิใจ

 

11.  ทักษะกระบวนการกลุ่ม

เป็นกระบวนการที่มุ่งให้ผู้เรียนทำงานร่วมกัน โดยเน้นกิจกรรม ดังนี้

  1. มีผู้นำกลุ่ม ซึ่งผลัดเปลี่ยนกัน
  2. วางแผน กำหนดวัตถุประสงค์และวิธีการ
  3. รับฟังความคิดเห็นจากสมาชิกทุกคนบนพื้นฐานของเหตุผล
  4. แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ เมื่อมีการปฏิบัติ
  5. ติดตามผลการปฏิบัติและการปรับปรุง
  6. ประเมินผลรวมและชื่นชมในผลงานของกลุ่ม

 

12. ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์

กระบวนการนี้มีด้วยกัน 2  วิธี  คือ

ทักษะการคิดคำนวณ   มีขั้นตอนย่อยๆ ดังนี้ สร้างความคิดรวบยอดของคำ  นิยามศัพท์ สอนกฎโดยวิธีอุปนัย (สอยจากตัวอย่างไปสู่กฎเกณฑ์ใหม่)  ฝึกฝนวินิจฉัย ปรับปรุง แก้ไขข้อบกพร่องและเสริมแรง

ทักษะการแก้ปัญหาโจทย์การสอน   มีขั้นตอนย่อยๆ ดังนี้  แปลโจทย์ในเชิงภาษา  หาวิธีแก้ไขโจทย์ วางแผนปฏิบัติตามขั้นตอน และตรวจสอบคำตอบ

 

 

13. วิธีการทางประวัติศาสตร์

 

            วิธีการจัดการเรียนรู้โดยกระบวนการเรียนรู้ด้วยวิธีทางประวัติศาสตร์ (Historical method)  เป็นการสอนที่สำคัญที่ให้ผู้เรียนฝึกทักษะในการค้นคว้าหาข้อเท็จจริงและคิดหาเหตุผล หาคำตอบด้วยตนเอง    เป็นการพัฒนาความสามารถในการคิดแบบสร้างสรรค์ และวิเคราะห์วิจารณ์   ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนนำวิธีการศึกษาไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ใช้ในการสอนสังคมศึกษาได้ทุกระดับ ขึ้นอยู่กับทักษะ ความพร้อม ที่จะพัฒนาไปอย่างช้าๆ ตามความสามารถและความสนใจ

            ในการสอนประวัติศาสตร์มีทฤษฎีที่ใช้เป็นแม่บท คือ การสอนด้วยวิธีทางประวัติศาสตร์ (Historical method)  ซึ่งนักประวัติศาสตร์ใช้ในการค้นคว้าหาคำตอบ โดยมีขั้นตอน ดังนี้

  1. ขั้นกำหนดปัญหา หรือข้อสมมุติฐาน

เป็นขั้นการสังเกตของผู้เรียนและผู้สอนร่วมกันเพื่อค้นพบข้อคิดเกี่ยวกับเรื่องราว

เหตุการณ์หรือพฤติกรรมของบุคคลในประวัติศาสตร์ ซึ่งมีรายละเอียดอยู่ในเนื้อหาของบทเรียน
ผู้สอนต้องวางแผน เตรียมการล่วงหน้าเพื่อให้เกิดความพร้อมในการแนะนำผู้เรียนให้เกิดข้อคิดในระหว่างเรียน นำไปสู่การกำหนดปัญหา ถ้าผู้เรียนมีประสบการณ์มาแล้ว อาจจะให้ผู้เรียนเดาคำตอบหรือกำหนดแนวทางเกี่ยวกับคำตอบของปัญหา ในรูปของการกำหนดสมมุติฐาน

2.ขั้นแสวงหาความรู้โดยการรวบรวมหลักฐาน

ขั้นนี้ผู้สอนต้องแนะนำเกี่ยวกับการค้นคว้าบอกแหล่งเรียนรู้เพื่อรวบรวมหลักฐาน 

ผู้สอนอาจเตรียมเอกสารเพื่อประกอบการค้นคว้าเกิดความสะดวก เป็นการสนองความอยากรู้อยากเห็นของผู้เรียน ข้อสำคัญต้องมีการจำแนกหลักฐานเป็น 2 ประเภท คือ หลักฐานชั้นต้น เป็นหลักฐานที่เขียนหรือพูดจากประสบการณ์ตรง และหลักฐานชั้นรอง เป็นหลักฐานที่นำหลักฐานชั้นต้นมาเรียบเรียงใหม่

3.ขั้นวิเคราะห์และประเมินคุณค่าข้อมูล

ผู้สอนต้องให้คำแนะนำ และสาธิตวิธีการวิเคราะห์ ประเมินคุณค่าข้อมูลโดยอาศัย

หลักฐาน ซึ่งแบ่งการประเมินคุณค่าเป็น 2  ประเภท คือ การประเมินคุณค่าภายนอก คือ การพิจารณาจากหลักฐานอื่นด้วย และการประเมินคุณค่าภายใน คือ การวิเคราะห์จากเหตุผล ความฉลาด ความรอบรู้ค้นคว้าหาเหตุผล ถูกต้องและตรงตามความเป็นจริงที่สุด คือขั้นของการสังเคราะห์

4. ขั้นตีความและสังเคราะห์

เป็นขั้นนำหลักฐานที่ผ่านการวิเคราะห์มาประเมินคุณค่า ด้วยการตีความและ

สังเคราะห์เพื่อให้เกิดความเข้าใจข้อเท็จจริง ในรูปของแนวคิดรวบยอด หรือมโนทัศน์ (concept) ของการเรียนรู้

5.ขั้นนำเสนอข้อมูล

เป็นการนำความรู้และแนวคิดที่ผ่านการวิเคราะห์และสังเคราะห์แล้ว มาบรรยาย

อภิปรายสัมมนา การทำรายงาน และอื่นๆ ต่อผู้อื่น เพื่อให้น่าสนใจ มีคุณค่า เร้าใจให้ติดตาม อันเป็นขั้นสุดท้ายของกระบวนการเรียนรู้

 

 

 

 

 

 

 

                 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการเรียนรู้

กระบวนการเรียนรู้ คือ แนวทางดำเนินการเรียนการสอนในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่มี
ขั้นตอนเป็นลำดับ ที่ช่วยให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพ ทั้งกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อย รายบุคคลและนำไปสู่ความสำเร็จจามจุดประสงค์โดยใช้ทรัพยากรและเวลาน้อยที่สุด

สงบ  ลักษณะ (2539: 38 – 47) กล่าวถึงการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งได้รวบรวมกระบวนการต่างๆ ไว้   12  กระบวนการ ดังนี้

  1. ทักษะกระบวนการสร้างความคิดรวบยอด
  2. ทักษะกระบวนการปฏิบัติ
  3. ทักษะกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณาญาณ
  4. ทักษะกระบวนการสร้างความตระหนัก
  5. ทักษะกระบวนการสร้างเจตคติ
  6. ทักษะกระบวนการสร้างค่านิยม
  7. ทักษะกระบวนการเรียนความรู้ ความเข้าใจ
  8. ทักษะกระบวนการเรียนภาษา
  9. ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา

10. ทักษะกระบวนการ 9 ขั้น

11.  ทักษะกระบวนการกลุ่ม

12. ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์

นอกจากนั้นยังมีวิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอีกหลายวิธี  เช่น  วิธีการสอนทางประวัติศาสตร์   วิธีการสอนกระบวนการคิดแบบโยนิโสมนสิการ  คิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย คิดแบบคุณค่าแท้ คุณค่าเทียม  คิดแบบอริยสัจ 4   การเรียนรู้แบบโครงงาน  เป็นต้น

 

 

 

 

 

 

 

 

กระบวนการเรียนรู้ต่างๆ มีขั้นตอนไว้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้เพื่อให้เกิด

ประสิทธิภาพแก่ผู้เรียนมากที่สุด ดังนี้

 

  1. ทักษะกระบวนการ สร้างความคิดรวบยอด

 

ขั้นตอน

แนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้

1. การสังเกต ให้ผู้เรียนได้รับรู้ ข้อมูลและศึกษาด้วยวิธีการต่างๆ โดยใช้สื่อประกอบ

เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดข้อกำหนดเฉพาะด้วยตนเอง

2. การจำแนกความแตกต่าง ให้ผู้เรียนบอกข้อแตกต่างของสิ่งที่รับรู้ และให้เหตุผลในความแตกต่างนั้น
3. การหาลักษณะร่วม ผู้เรียนมองเห็นความเหมือนความเหมือนในภาพรวมของสิ่งที่ได้รับรู้และสรุปเป็นวิธีการ หลักการ คำจำกัดความ นิยามได้
4. ระบุชื่อความคิดรวบยอด ผู้เรียนได้ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่รับรู้
5. การทดสอบและนำไปใช้ ผู้เรียนได้ทดลอง ทดสอบ สังเกต ทำแบบฝึกหัด  ปฏิบัติ เพื่อประเมินความรู้

 

  1. ทักษะกระบวนการปฏิบัติ

 

ขั้นตอน

แนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้

1. การสังเกต รับรู้ ผู้เรียนได้เห็นตัวอย่างหลากหลายจนเกิดความเข้าใจและสรุปความ

คิดรวบยอด

2. การทำตามแบบ ทำตามตัวอย่างที่แสดงให้เห็นทีละขั้นตอนจากขั้นพื้นฐานไปถึงงานที่ซับซ้อนขึ้น
3. การทำโดยไม่มีแบบ ฝึกปฏิบัติชนิดครบถ้วนกระบวนการทำงานตั้งแต่ต้นจนจบด้วยตนเอง
4. การฝึกให้เกิดทักษะ

 

ปฏิบัติด้วยตนเองจนเกิดความชำนาญ หรือทำได้โดยอัตโนมัติ อาจจะเป็นงานชิ้นเดิมหรืองานที่คิดขึ้นใหม่

8

 

  1. ทักษะกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

 

ขั้นตอน

แนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้

1. การสังเกต ให้ผู้เรียนเน้นการทำกิจกรรม รับรู้แบบปรนัยให้เข้าใจ ได้ความคิดรวบยอด

เชื่อมโยง ความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ สรุปเป็นใจความสำคัญครบถ้วนตรงตามหลักฐานข้อมูล

2. การอธิบาย ให้ผู้เรียนตอบคำถาม แสดงความคิดเห็น เชิงเห็นด้วย ไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่กำหนด เน้นการใช้เหตุผล หลักการ กฎเกณฑ์ อ้างหลักฐานข้อมูลประกอบให้น่าเชื่อถือ
3. การรับฟัง ให้ผู้เรียนได้ฟังความคิดเห็น ได้ตอบคำถามวิพากษ์ วิจารณ์จากผู้อื่นที่มีความคิดเห็นของตน หรือข้อมูลที่ดีกว่าโดยไม่ใช้อารมณ์ต่อความคิดเห็น
4. การเชื่อมโยงความ

สัมพันธ์

ผู้เรียนได้เปรียบเทียบความแตกต่างและความคล้ายคลึงของสิ่งของต่างๆ ให้สรุปจัดกลุ่มสิ่งที่เป็นพวกเดียวกัน เชื่อมโยงเหตุการณ์ เชิงหาเหตุผล หากฎเกณฑ์การเชื่อมโยงลักษณะอุปมา อุปไมย
5. วิจารณ์ จัดกิจกรรมให้วิเคราะห์เหตุการณ์ คำกล่าว แนวคิด หรือการกระทำแล้วให้จำแนกจุดเด่น จุดด้อย ส่วนดี ส่วนเสีย ส่วนสำคัญ ไม่สำคัญ จากสิ่งนั้นด้วยการยกเหตุผล หลักการมาประกอบการวิจารณ์
6. สรุป จัดกิจกรรมให้พิจารณาส่วน ประกอบของการกระทำหรือข้อมูลต่างๆที่เชื่อมโยงเกี่ยวข้องกันแล้ว ให้สรุปผลอย่างตรงและถูกต้องตามหลักฐานข้อมูล

 

 

 

 

 

 

4.  ทักษะกระบวนการสร้างความตระหนัก

 

ขั้นตอน

แนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้

1. สังเกต

ให้ข้อมูลที่ต้องการ ให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ เอาใจใส่และเห็นคุณค่า

2. วิจารณ์

ให้ตัวอย่าง สถานการณ์ ประสบการณ์ตรงเพื่อให้ผู้เรียนวิเคราะห์ สาเหตุ ผลดี ผลเสีย ที่จะเกิดขึ้นทั้งในระยะสั้น และระยะยาว

3. สรุป

ผู้เรียนอภิปราย หาข้อมูล หรือหลักฐานมาสนับสนุนคุณค่าของสิ่งที่จะต้องตระหนัก และวางเป้าหมายที่จะพัฒนาตนเองในเรื่องนั้น

 

5.  ทักษะกระบวนการสร้างเจตคติ

 

ขั้นตอน

แนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้

1. สังเกต

ผู้เรียนพิจารณาข้อมูล เหตุการณ์ การกระทำที่เกี่ยวข้องกับการมี

เจตคติที่ไม่ดี

2. วิเคราะห์

ผู้เรียนพิจารณาผลที่เกิดขึ้นตามมา แยกเป็นการกระทำที่เหมาะสมได้ผลตามที่น่าพอใจ การกระทำที่ไม่เหมาะสมตามที่ไม่น่าพอใจ

3. สรุป

ผู้เรียนรวบรวมข้อมูลเป็นหลักการ แนวคิด แนวปฏิบัติด้วยเหตุผลของความพอใจ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

6.  ทักษะกระบวนการสร้างค่านิยม

 

ขั้นตอน

แนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้

1. สังเกต ตระหนัก

ผู้เรียนพิจารณาข้อมูล เหตุการณ์ การกระทำที่เกี่ยวข้องกับการมี

เจตคติที่ไม่ดี

2. ประเมินเชิงเหตุผล

ผู้เรียนพิจารณาผลที่เกิดขึ้นตามมา แยกเป็นการกระทำที่เหมาะสมได้ผลตามที่น่าพอใจ การกระทำที่ไม่เหมาะสมตามที่ไม่น่าพอใจ

3. กำหนดค่านิยม

ผู้เรียนรวบรวมข้อมูลเป็นหลักการ แนวคิด แนวปฏิบัติด้วยเหตุผลของความพอใจ

4. วางแผนปฏิบัติ

กลุ่มช่วยกันกำหนดแนวปฏิบัติในสถานการณ์จริง โดนครูมีส่วนร่วมในการรับทราบกติกา  การกระทำ และสำรวจสิ่งที่ผู้เรียนต้องการจะได้รับเมื่อได้กระทำดีแล้ว เช่นการได้ประกาศชื่อให้เป็นที่ยอมรับ

5. ปฏิบัติด้วยความชื่นชม

ครูให้การเสริมแรงตามกติการะหว่างการปฏิบัติให้ผู้เรียนเกิดความชื่นชมยินดี

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

7.  ทักษะกระบวนการเรียน ความรู้ ความเข้าใจ

 

ขั้นตอน

แนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้

1. สังเกต ตระหนัก

ผู้เรียนพิจารณาข้อมูล สาระความรู้ เพื่อสร้างความคิดรวบยอดกระตุ้นให้ตั้งคำถาม ตั้งข้อสังเกต สังเคราะห์ข้อมูล เพื่อทำความเข้าใจในสิ่งที่ต้องการรู้ และกำหนดเป็นวัตถุประสงค์ เป็นแนวทางที่จะแสวงหาคำตอบต่อไป

2. วางแผนปฏิบัติ

ผู้เรียนนำวัตถุประสงค์ หรือคำถามที่ทุกคนสนใจจะหาคำตอบมาวางแผน เพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสม

3. ลงมือปฏิบัติ

ผู้เรียนกำหนดให้สมาชิกในกลุ่มย่อย ได้แสวงหาคำตอบจากแหล่งความรู้ด้วยวิธีต่างๆ เช่น ค้นคว้า สัมภาษณ์ ศึกษานอกสถานที่ หา

ข้อมูลจากองค์กรในชุมชน ตามแผนที่วางไว้

4. พัฒนาความรู้

ความเข้าใจ

นำความรู้ที่ได้มารายงาน และอภิปรายเชิงแปลความหมาย ตีความ ขยายความ นำไปใช้วิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่า

5. สรุป

รวบรวมเป็นสาระที่ควรรู้ บันทึกลงสมุดผู้เรียน

 

8.  ทักษะกระบวนการเรียนภาษา

 

ขั้นตอน

แนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้

1. ทำความเข้าใจสัญลักษณ์

ผู้เรียนรับรู้เกี่ยวกับความหมายของคำ กลุ่มคำประโยค สำนวนต่างๆ

2. สร้างความคิดรวบยอด

ผู้เรียนเกิดการเชื่อมโยงความรู้จากประสบการณ์มาสู่ความเข้าใจและเกิดภาพรวมเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนด้วยตนเอง

3.สื่อความหมาย ความคิด

ผู้เรียนถ่ายทอดทางภาษาให้ผู้อื่นเข้าใจ

4. พัฒนาความสามารถ

ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามขั้นตอน คือความรู้ ความจำ เข้าใจ นำไปใช้วิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่าได้

 

9.  ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา

 

ขั้นตอน

แนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้

1. สังเกต

ผู้เรียนศึกษาข้อมูล รับรู้และทำความเข้าใจในปัญหาจนสามารถสรุป และตระหนักในปัญหานั้น

2. การวิเคราะห์

ผู้เรียนได้อภิปรายหรือแสดงความคิดเห็น เพื่อแยกแยะประเด็นปัญหา สภาพ สาเหตุและลำดับความสำคัญของปัญหา

3. สร้างทางเลือก

ผู้เรียนแสวงหาทางเลือกในการแก้ปัญหาอย่างหลากหลาย ซึ่งอาจมีการทดลอง ค้นคว้า ตรวจสอบเพื่อเป็นข้อมูลประกอบกรณี ที่ให้

ผู้เรียนทำกิจกรรมกลุ่ม ควรมีการกำหนดหน้าที่ในการทำงาน

4. เก็บข้อมูลประเมินทางเลือก

ผู้เรียนได้ปฏิบัติตามแผนและบันทึกการปฏิบัติงานเพื่อรายงานและ

ตรวจสอบความถูกต้องของทางเลือก

5. สรุป

ผู้เรียนสังเคราะห์ความรู้ด้วยตนเอง อาจจัดทำเป็นรูปของการ

รายงาน

 

10.  ทักษะกระบวนการ 9 ขั้น

 

ขั้นตอน

แนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้

1. ตระหนักในปัญหาและความจำเป็น ครูยกสถานการณ์ตัวอย่างให้ผู้เรียนเข้าใจและตระหนักในปัญหาและความจำเป็นในเรื่องที่ศึกษาหรือเห็นประโยชน์ ความสำคัญของการศึกษาเรื่องนั้น โดยครูอาจนำเสนอเป็นกรณีตัวอย่าง หรือสถานการณ์ที่สะท้อนให้เห็นปัญหาความขัดแย้งของเรื่องที่ศึกษา โดยใช้สื่อประกอบ เช่น รูปภาพวีดีทัศน์  สถานการณ์จริง กรณีตัวอย่าง สไลด์ ฯลฯ
2. คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ กระตุ้นผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ ตอบคำถาม แบบฝึกหัด ข้อมูลและให้โอกาสผู้เรียนแสดงความคิดเห็นเป็นกลุ่มหรือรายบุคคล

 

 

 

10.  ทักษะกระบวนการ 9 ขั้น (ต่อ)

 

ขั้นตอน

แนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้

3. สร้างทางเลือก ผู้เรียนแสวงหาทางเลือกในการแก้ปัญหาอย่างหลากหลาย โดยร่วมกันคิดเสนอทางเลือกและอภิปรายข้อดี ข้อเสียของทางเลือกนั้นๆ
4. ประเมินและเลือกทา ผู้เรียนตัดสินทางเลือกแนวทางในการแก้ปัญหา โดยร่วมกันสร้างเกณฑ์ที่ต้องคำนึงถึงปัจจัย วิธีดำเนินการ ผลผลิต ข้อจำกัด ความเหมาะสม กาลเทศะเพื่อใช้ในการพิจารณา ตัดสินเลือกแนวทางการแก้ปัญหา ซึ่งอาจใช้วิธีระดมพลังสมอง อภิปราย ศึกษา ค้นคว้า

5. กำหนดและลำดับ

ขั้นตอนการปฏิบัติ

ผู้เรียนวางแผนการทำงานของตนเอง หรือกลุ่มอาจใช้ลำดับขั้นตอน

การดำเนินงาน ดังนี้

ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน

กำหนดวัตถุประสงค์

กำหนดขั้นตอนการทำงาน

กำหนดผู้รับผิดชอบ(กรณีทำงานกลุ่ม)

กำหนดระยะเวลาการทำงาน

กำหนดวิธีการประเมินผล

6. ปฏิบัติด้วยความชื่นชม

ผู้เรียนได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ด้วยความสมัครใจ ตั้งใจ

มีความกระตือรือร้น และเพลิดเพลินกับการทำงาน

7. ประเมินระหว่างปฏิบัติ

ผู้เรียนได้สำรวจปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงานโดยการซักถาม

อภิปรายและเปลี่ยนความคิดเห็น มีการประเมินผลการปฏิบัติงาน

ตามขั้นตอนและตามแผนที่กำหนดไว้ โดยสรุปผลการทำงานแต่ละช่วง แล้วเสนอแนวทางการปรับปรุง การทำงานขั้นต่อไป

8. ปรับปรุงให้ดีขึ้นเสมอ

ผู้เรียนนำผลที่ได้จากการประเมินในแต่ละขั้นตอน มาเป็นแนวทางในการพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

 

 

10.  ทักษะกระบวนการ 9 ขั้น (ต่อ)

 

ขั้นตอน

แนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้

9. ประเมินผลรวมเพื่อให้

เกิดความภูมิใจ

ผู้เรียนสรุปผลการดำเนินงาน โดยการเปรียบเทียบผลงานกับวัตถุประสงค์ ที่กำหนดไว้และผลพลอยได้อื่นๆซึ่งอาจเผยแพร่ขยาย

ผลงานแก่ผู้อื่น ได้รับรู้ด้วยความเต็มใจและภาคภูมิใจ

 

11.  ทักษะกระบวนการกลุ่ม

เป็นกระบวนการที่มุ่งให้ผู้เรียนทำงานร่วมกัน โดยเน้นกิจกรรม ดังนี้

  1. มีผู้นำกลุ่ม ซึ่งผลัดเปลี่ยนกัน
  2. วางแผน กำหนดวัตถุประสงค์และวิธีการ
  3. รับฟังความคิดเห็นจากสมาชิกทุกคนบนพื้นฐานของเหตุผล
  4. แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ เมื่อมีการปฏิบัติ
  5. ติดตามผลการปฏิบัติและการปรับปรุง
  6. ประเมินผลรวมและชื่นชมในผลงานของกลุ่ม

 

12. ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์

กระบวนการนี้มีด้วยกัน 2  วิธี  คือ

ทักษะการคิดคำนวณ   มีขั้นตอนย่อยๆ ดังนี้ สร้างความคิดรวบยอดของคำ  นิยามศัพท์ สอนกฎโดยวิธีอุปนัย (สอยจากตัวอย่างไปสู่กฎเกณฑ์ใหม่)  ฝึกฝนวินิจฉัย ปรับปรุง แก้ไขข้อบกพร่องและเสริมแรง

ทักษะการแก้ปัญหาโจทย์การสอน   มีขั้นตอนย่อยๆ ดังนี้  แปลโจทย์ในเชิงภาษา  หาวิธีแก้ไขโจทย์ วางแผนปฏิบัติตามขั้นตอน และตรวจสอบคำตอบ

 

 

13. วิธีการทางประวัติศาสตร์

 

            วิธีการจัดการเรียนรู้โดยกระบวนการเรียนรู้ด้วยวิธีทางประวัติศาสตร์ (Historical method)  เป็นการสอนที่สำคัญที่ให้ผู้เรียนฝึกทักษะในการค้นคว้าหาข้อเท็จจริงและคิดหาเหตุผล หาคำตอบด้วยตนเอง    เป็นการพัฒนาความสามารถในการคิดแบบสร้างสรรค์ และวิเคราะห์วิจารณ์   ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนนำวิธีการศึกษาไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ใช้ในการสอนสังคมศึกษาได้ทุกระดับ ขึ้นอยู่กับทักษะ ความพร้อม ที่จะพัฒนาไปอย่างช้าๆ ตามความสามารถและความสนใจ

            ในการสอนประวัติศาสตร์มีทฤษฎีที่ใช้เป็นแม่บท คือ การสอนด้วยวิธีทางประวัติศาสตร์ (Historical method)  ซึ่งนักประวัติศาสตร์ใช้ในการค้นคว้าหาคำตอบ โดยมีขั้นตอน ดังนี้

  1. ขั้นกำหนดปัญหา หรือข้อสมมุติฐาน

เป็นขั้นการสังเกตของผู้เรียนและผู้สอนร่วมกันเพื่อค้นพบข้อคิดเกี่ยวกับเรื่องราว

เหตุการณ์หรือพฤติกรรมของบุคคลในประวัติศาสตร์ ซึ่งมีรายละเอียดอยู่ในเนื้อหาของบทเรียน
ผู้สอนต้องวางแผน เตรียมการล่วงหน้าเพื่อให้เกิดความพร้อมในการแนะนำผู้เรียนให้เกิดข้อคิดในระหว่างเรียน นำไปสู่การกำหนดปัญหา ถ้าผู้เรียนมีประสบการณ์มาแล้ว อาจจะให้ผู้เรียนเดาคำตอบหรือกำหนดแนวทางเกี่ยวกับคำตอบของปัญหา ในรูปของการกำหนดสมมุติฐาน

  1. ขั้นแสวงหาความรู้โดยการรวบรวมหลักฐาน

ขั้นนี้ผู้สอนต้องแนะนำเกี่ยวกับการค้นคว้าบอกแหล่งเรียนรู้เพื่อรวบรวมหลักฐาน 

ผู้สอนอาจเตรียมเอกสารเพื่อประกอบการค้นคว้าเกิดความสะดวก เป็นการสนองความอยากรู้อยากเห็นของผู้เรียน ข้อสำคัญต้องมีการจำแนกหลักฐานเป็น 2 ประเภท คือ หลักฐานชั้นต้น เป็นหลักฐานที่เขียนหรือพูดจากประสบการณ์ตรง และหลักฐานชั้นรอง เป็นหลักฐานที่นำหลักฐานชั้นต้นมาเรียบเรียงใหม่

  1. ขั้นวิเคราะห์และประเมินคุณค่าข้อมูล

ผู้สอนต้องให้คำแนะนำ และสาธิตวิธีการวิเคราะห์ ประเมินคุณค่าข้อมูลโดยอาศัย

หลักฐาน ซึ่งแบ่งการประเมินคุณค่าเป็น 2  ประเภท คือ การประเมินคุณค่าภายนอก คือ การพิจารณาจากหลักฐานอื่นด้วย และการประเมินคุณค่าภายใน คือ การวิเคราะห์จากเหตุผล ความฉลาด ความรอบรู้ค้นคว้าหาเหตุผล ถูกต้องและตรงตามความเป็นจริงที่สุด คือขั้นของการสังเคราะห์

  1. ขั้นตีความและสังเคราะห์

เป็นขั้นนำหลักฐานที่ผ่านการวิเคราะห์มาประเมินคุณค่า ด้วยการตีความและ

สังเคราะห์เพื่อให้เกิดความเข้าใจข้อเท็จจริง ในรูปของแนวคิดรวบยอด หรือมโนทัศน์ (concept) ของการเรียนรู้

  1. ขั้นนำเสนอข้อมูล

เป็นการนำความรู้และแนวคิดที่ผ่านการวิเคราะห์และสังเคราะห์แล้ว มาบรรยาย

อภิปรายสัมมนา การทำรายงาน และอื่นๆ ต่อผู้อื่น เพื่อให้น่าสนใจ มีคุณค่า เร้าใจให้ติดตาม อันเป็นขั้นสุดท้ายของกระบวนการเรียนรู้

 

 

 

 

 

 

 

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน ตุลาคม 15, 2011 นิ้ว Uncategorized

 

Hello world!

Welcome to WordPress.com. After you read this, you should delete and write your own post, with a new title above. Or hit Add New on the left (of the admin dashboard) to start a fresh post.

Here are some suggestions for your first post.

  1. You can find new ideas for what to blog about by reading the Daily Post.
  2. Add PressThis to your browser. It creates a new blog post for you about any interesting  page you read on the web.
  3. Make some changes to this page, and then hit preview on the right. You can always preview any post or edit it before you share it to the world.
 
1 ความเห็น

Posted by บน ตุลาคม 15, 2011 นิ้ว Uncategorized